วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558
สัตว์ประจำชาติของประเทศกรีซ
แกะ สามารถกินหญ้าได้หลายชนิดและพุ่มไม้ต่างๆ แต่แพะมีนิสัยชอบเลือกกินหญ้า หรือพืชที่มีลำต้นสั้น ชอบกินหญ้าที่งอกขึ้นใหม่ๆ หญ้าหมักและใบพืชผัก ตลอดจนพืชหัวประเภทต่างๆ ซึ่งอาจเลี้ยงแกะในแปลงผักต่างๆ หลัการเก็บเกี่ยวได้ แต่ควรปล่อยให้ใบพืชผักเหล่านั้นแห้งน้ำก่อน เนื่องจากถ้ากินในขณะพืชผักนั้นยังสดอยู่ อาจทำให้แกะท้องอืดได้ เพราะพืชผักนั้นมีน้ำมาก และควรระวังยาฆ่าแมลงที่ใช้ในส่วนพืชผักนั้นด้วย
แกะ เดินแทะเล็มหญ้าวนเวียนไม่ซ้ำที่กันแม้จะมีหญ้าอยู่มากก็ตามก็ยังคงเดินต่อไป ยิ่งมีหญ้ามากแกะก็จะเลือกมากเลือกกินแต่หญ้าอ่อนๆ เช่นเดียวกับแพะซึ่งไม่ชอบกินหญ้าในที่เดียวกันเป็นเวลานานๆ การเลี้ยงแกะที่มีอายุมากหรือลูกแกะที่ยังเล็กควรเลี้ยงในแปลงหญ้าที่มีคุณภาพดี เพราะฟันของแกะเหล่านี้ไม่ค่อยดี การดักหญ้ามนแต่ละครึ้งจะได้ปริมาณหญ้าที่น้อย
ในการปล่อยแกะแทะเล็ม ควรปล่อยแกะลงกินหญ้าที่มีความสูงจากพื้นดินอยู่ระหว่าง 4-8 นิ้ว ส่วนแพะชอบกินหญ้าที่มีความสูงมากกว่า 10 นิ้ว จนถึงความสูงที่สุดเท่าที่จะกินได้ ไม้พุ่มไม้หนามแพะจะชอบกินมาก รวมทั้งยอดอ่อนของต้นพืช ส่วนแกะจะเก็บกินหญ้าที่สั้นตามหลัง
การเลี้ยงแกะในสวนยาง สวนผลไม้ เช่น ส่วนมะม่วง มะขาม และขนุน เป็นต้น เพื่อช่วยกำจัดวัชพืช แกะสามารถกินผลไม้ที่ร่วงหล่นลงเป็นอาหารได้ด้วย นอกจากนี้ยังอาศํยร่มเงาของต้นไม้หลบแสงแดดร้อนได้ แต่ไม่ควรปล่อยแกะลงไปในส่วนที่ผลไม้ร่วมหล่นมากๆ ในครั้งแรก เพราะอาจจะกินมากเกินไป ทำให้ท้องอืดได้ ถ้าเลี้ยงปล่อยอยู่แล้วเป็นประจำก็จะไม่มีปัญหามากนัก
หมาป่าสีเทาเป็นสัตร์ประจำชาติของประเทศตุรกี
หมาป่าสีเทา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์ร่วมตระกูลเดียวกับ หมาจิ้งจอก หมาใน ไคโยตี ไฮยีน่าและดิงโก หมาป่าจัดอยู่ในสัตว์ประเภทกินเนื้อที่มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย ปราดเปรียว เฉลียวฉลาด มีการออกล่าเป็นทีม มีความอดทนรวมทั้งมีความกล้าหาญและความสามารถในการต่อสู้อย่างดีเยี่ยม หมาป่าอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายในแถบทวีปยุโรป แต่ปัจจุบันหมาป่ากลับถูกไล่ล่าและลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วคงเหลืออยู่เพียงแค่ 4 สายพันธุ์คือ หมาป่าเทา หมาป่าแดง หมาป่าไซบีเรียนและหมาป่าขนคอยาว
วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558
สัตว์ประจำชาติของประเทศเวียดนาม
ลักษณะของควาย
ควายเป็นสัตว์มีสี่ขา เท้าเป็นกีบ ตัวขนาดใกล้เคียงกับวัวโตเต็มวัยเมื่ออายุระหว่าง 5-8 ปี น้ำหนักตัวผู้โตเต็มวัยโดยเฉลี่ย 520-560 กิโลกรัม ตัวเมียเฉลี่ยประมาณ 360-440 กิโลกรัม ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย มีผิวสีเทาถึงดำ (บางตัวมีสีชมพู เรียกว่า ควายเผือก) มีเขาเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัว ปลายเขาโค้งเป็นวงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว
ควายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลูกควายจะกินนมแม่จนอายุประมาณ 1 ปี 6 เดือน ควายจะเจริญเติบโตใช้แรงงานได้ระหว่างอายุ 2.5-3 ปี ช่วงที่ใช้งานได้เต็มที่ คือระหว่างอายุ 6-9 ปี ควายแต่ละตัวจะใช้งานได้จนอายุย่างเข้า 20 ปี อายุควายโดยทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 25 ปี
วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558
สัตว์ประจำชาติของประเทศกัมบูชา
ลักษณะ : กูปรีเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับกระทิงและวัวแดง เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่ 1.7-1.9 เมตร น้ำหนัก 700-900 กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าตัวเมียมาก สีโดยทั่วไปเป็นสีเทาเข้มเกือบดำ ขาทั้ง 4 มีถุงเท้าสีขาวเช่นเดียวกับกระทิง ในตัวผู้ที่มีอายุมาก จะมีเหนียงใต้คอยาวห้อยลงมาจนเกือบจะถึงดิน เขากูปรีตัวผู้กับตัวเมียจะแตกต่างกันโดยเขาตัวผู้จะโค้งเป็นวงกว้าง แล้วตีวงโค้งไปข้างหน้า ปลายเขาแตกออกเป็นพู่คล้ายเส้นไม้กวาดแข็ง ตัวเมียมีเขาตีวงแคบแล้วม้วนขึ้นด้านบน ไม่มีพู่ที่ปลายเขา
อุปนิสัย : อยู่รวมกันเป็นฝูง 2-20 ตัว กินหญ้า ใบไม้ดินโป่งเป็นครั้งคราว ผสมพันธุ์ในราวเดือนเมษายน ตั้งท้องนาน 9 เดือน จะพบออกลูกอ่อนประมาณเดือนธันวาคมและมกราคม ตกลูกครั้งละ 1 ตัว
สัตว์ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์ คือ สิงโต
ลัษณะนิสัย
สิงโตใช้เวลาส่วนมากไปกับการพักผ่อนประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน แม้ว่าสิงโตจะสามารถกระตือรือร้นได้ทุกช่วงเวลา แต่โดยทั่วไปแล้วมันจะกระตือรือร้นและมีชีวิตชีวามากที่สุดตอนพลบค่ำกับช่วงเข้าสังคม แต่งขน และขับถ่าย เมื่อต้องล่าเหยื่อสิงโตจะกระตือรือร้นเป็นพักๆ ไปตลอดทั้งคืนจวบจนกระทั่งรุ่งเช้า โดยเฉลี่ยแล้ว สิงโตจะใช้เวลาเดิน 2 ชั่วโมงและกิน 50 นาทีต่อวัน
พฤติกรรมการรวมกลุ่มทางสังคมแบบที่สองเรียกว่า พวกเร่ร่อน มีขอบเขตการหากินกว้างและย้ายถิ่นฐานเป็นระยะๆ อาจเป็นสิงโตโทนหรือคู่สิงโต คู่สิงโตนั้นบ่อยครั้งเป็นสิงโตตัวผู้ที่ถูกขับไล่ออกจากฝูงที่มันเกิดฝูงเดียวกัน สิงโตอาจเปลี่ยนวิถีชีวิตจากพวกร่อนเร่อาจจะกลายเป็นผู้อยู่อาศัยในฝูงและอาจเป็นในทางกลับกัน สิงโตตัวผู้จะมีวิถีชีวิตแบบดังกล่าวแต่สิงโตตัวผู้บางตัวจะไม่เคยรวมฝูงเลยตลอดชีวิต สิงโตตัวเมียที่กลายเป็นพวกเร่ร่อนจะเข้าร่วมฝูงใหม่ยากมากเพราะตัวเมียในฝูงใหม่จะพยายามกีดกันไม่ให้ตัวเมียที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเข้าร่วมฝูงของครอบครัว
การล่าอาหารสิงโตกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร มันกินสัตว์ได้แทบทุกชนิด เช่น กระต่าย ไก่ป่า จระเข้ ลิง เม่น กวาง ม้าลาย ควายป่า ละมั่ง เป็นต้น แม้แต่ซากสิงโตด้วยกันเองก็กิน ลูกสิงโตที่อ่อนแอจะถูกกินเพื่อให้ตัวที่แข็งแรงกว่าได้อยู่รอด
สัตร์ประจำชาติของประเทศพม่า
สือโคร่งมีพฤติกรรมและอุปนิสัยชอบอยู่เพียงลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์จึงจะจับคู่กัน อายุที่พร้อมจะผสมพันธุ์ได้นั้นคือ 3-5 ปี
ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบสลับกับทุ่งหญ้าโล่ง ชอบว่ายน้ำและแช่น้ำมาก ซึ่งแตกต่างจากเสือสายพันธุ์อื่น ล่าเหยื่อได้ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่ส่วนใหญ่ในเวลากลางวันจะนอนพักผ่อน ล่าเหยื่อในเวลาเย็น พลบค่ำ กลางคืน หรือขณะที่อากาศไม่ร้อนจัด มีสายตาที่มองเห็นได้ทั้งที่มืดและสว่าง เสือโคร่งวิ่งได้เร็วกว่า 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสามารถกระโจนในระยะทาง 500 เมตรได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที
เสือโคร่งมักจะกัดที่คอหอยเหยื่อ บางทีกระโดดตะปบหลังและตะปบขาหลังเหยื่อให้ล้มลงก่อนที่จะกัดคอหอย และเมื่อได้เหยื่อแล้ว บางตัวอาจคาบเหยื่อขึ้นไปขัดไว้ตามคบไม้เหมือนเสือดาว ด้วยก็ได้ เสือโคร่งมีกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรงมาก สามารถตามเหยื่อได้ไกลถึง 100-200 เมตร เพศผู้มีพื้นที่ในการหากินกว้างถึง 200-300 ตารางกิโลเมตร ขณะที่ตัวเมียมีเพียง 60 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น เพื่อเลี้ยงตัวเองและลูกน้อย
นิสัยปกติจะหวงถิ่น โดยการหันก้นปัสสาวะรดตามต้นไม้ โขดหิน เพื่อให้กลิ่นของตนเองติดอยู่ เพื่อประกาศอาณาเขต ในบางครั้งอาจจะข่วนเล็บกับเปลือกไม้ด้วยเพื่อเป็นการลับเล็บและประกาศอาณาเขต หากมีเสือโคร่งตัวอื่นหรือสัตว์อื่นที่มีขนาดใหญ่รุกล้ำมา จะต่อสู้กัน โดยปกติแล้ว เสือโคร่งจะกลัวมนุษย์ จะหลบหนีไปเมื่อพบกับมนุษย์ แต่จะทำร้ายหรือกินเนื้อมนุษย์ได้ เมื่อบาดเจ็บหรือจนตรอก หรือเป็นเสือที่อายุมากแล้วไม่สามารถล่าเหยื่อชนิดอื่นได้ หากได้กินเนื้อมนุษย์ก็จะติดใจและจะกลับมากินอีก จนกลายเป็นเสือกินคน
วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558
วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
สัตว์ประจำชาติของประเทศจีน
สัตว์ประจำชาติของประเทศจีน
หมีแพนด้า ลักษณะ แพนด้ามีขนบริเวณ หู รอบดวงตา จมูก ขา หัวไหล่ สีดำ ในขณะที่บริเวณอื่นจะมีสีขาว มีฟันกรามขนาดใหญ่ และมีกล้ามเนื้อขากรรไกรที่แข็งแรงสำหรับเคี้ยวต้นไผ่ ซึ่งเป็นอาหารของมัน ตัวของมันที่อ้วนและลักษณะการเดินที่อุ้ยอ้าย ทำให้มันดูเป็นสัตว์ที่น่ารัก แต่ในยามที่มีภัยมาถึงตัว แพนด้าก็มีวิธีการต่อสู้เหมือนหมีทั่วๆ ไป นักวิทยาศาสตร์คิดว่าลักษณะสีขาว-ดำ ของแพนด้า อาจช่วยให้มันดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่เป็นภูเขา และมีหิมะ
พฤติกรรมแพนด้ามักอยู่ในท่านั่งเวลากินอาหาร ซึ่งคล้ายกับคนนั่ง มันใช้อุ้งเท้าของมันช่วยจับต้นไผ่ในขณะที่กินอาหาร เวลาส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการพักผ่อน การกิน และการหาอาหาร งานวิจัยช่วงแรก ทำให้นักวิทยาศาสตร์คิดว่า แพนด้าเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่โดยลำพัง จะพบกันเฉพาะช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์เท่านั้น แต่จากงานวิจัยต่อมา พบว่าแพนด้ามีการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยแต่ละกลุ่มมีการใช้ถิ่นที่อยู่อาศัยบางบริเวณร่วมกัน และบางครั้งสมาชิกในกลุ่มหนึ่งออกมาพบสมาชิกในกลุ่มอื่นในช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ อย่างไรก็ตาม คงต้องมีการทำวิจัยต่อไป
สัตว์ประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น
สัตว์ประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น
นกกระเรียง เป็นนกขนาดใหญ่ คอและขายาว อยู่ในอันดับ และวงศ์นกกระเรียน มี 15 ชนิด คล้ายนกกระสาแต่เวลาบินนกกระเรียนจะเหยียดคอตรง ไม่งอพับมาด้านหลังเหมือนนกกระสา นกกระเรียนอาศัยอยู่ทั่วโลกยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกาและทวีปอเมริกาใต้
นกส่วนมากไม่ถูกคุกคามมากนัก ยกเว้นบางชนิดที่ถูกคุกคามจนวิกฤติ เช่น นกกระเรียนกู่
นกกระเรียนเป็นนักกินตามโอกาส อาหารจะเปลี่ยนไปตามฤดูกาลและความต้องการสารอาหาร อาหารจะเป็นตั้งแต่ สัตว์ฟันแะทตัวเล็กๆ ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และแมลง จนถึง ธัญพืช ลูกไม้ และพืช
มีการแสดงท่าทางที่ซับซ้อนและส่งเสียงร้องเพื่อการเกี้ยวพาราสีหรือที่เรียกว่า เต้นระบำ ในขณะที่คนทั่วไปคิดว่านะกระเรียนมีคู่ตัวเดียวไปจนตาย จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดแสดงว่านกเหล่านี้มีการเปลี่ยนคู่ในช่วงชีวิตของมัน อาจเป็นในช่วง 10 หลังๆ นกกระเรียนสร้างรังแบบยกพื้นในน้ำตื้นและมักจะวางไข่สองครั้ง พ่อแม่จะช่วยกันเลี้ยงดูลูก ลูกนกจะอยู่กับพ่อแม่จนกระทั่งฤดูผสมพันธุ์ถัดไป
บางชนิดเป็นนกอพยพทางไกล แต่ไม่ใช่ทุกชนิด นกกระเรียนชอบอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่
วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558
สัตว์ประจำชาติของประเทศไทย
สัตว์ประจำชาติของประเทศไทย
ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติไทย ในสมัยโบราณ ช้างส่วนมากจะถูกใช้ในการสงคราม ต่อมาเมื่อมีอาวุธสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ ช้างจึงถูกนำไปใช้แรงงานจำพวกชักลากไม้ในป่า และในปัจจุบันช้างเป็นสัตว์อนุรักษ์ที่ถูกใช้ในงานการแสดงและการท่องเที่ยว ประเทศไทยเคยใช้ช้างเป็นส่วนหนึ่งของธงชาติเรียกว่าธงช้างเผือก ก่อนจะถูกเปลี่ยนมาใช้ธงไตรรงค์อย่างในปัจจุบัน แต่ยังมีธงหน่วยงานราชการบางแห่งที่ใช้ใช้ช้างเป็นองค์ประกอบ ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมช้างจึงถูกเรียกว่าเป็นสัตว์ประจำชาติไทย
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ประวัติส่วนตัว
สวัสดีค่ะทุกคน
หนูชื่อ เด็กหญิงธนนันท์ พานิชวงษ์ ชื่อเล่น "แหม่ง"
กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.2 โรงเรียนสงวนหญิง
วิชาที่ชอบ วิทยาศาสตร์
สีที่ชอบ สีชมพู
สัตว์ที่ชอบ ช้าง ตั๊กแตน เสือโคร่ง
การศึกษา ชั้นปฐมวัยและประถมศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)